รายละเอียด
ดาวน์โหลด Docx
อ่านเพิ่มเติม
วิธีการ ถ่ายทอดธรรม หรือที่เราเรียกว่าการประทับจิต เนี่ย ไม่ใช่แค่เป็นวิธีการ ที่ท่านอาจารย์ชิงไห่เป็นคนคิดขึ้น เป็นวิธีการที่มีมาแต่โบราณมาก ผมขอยกตัวอย่าง ถ้าสมมติว่า เรามีโอกาส ศึกษาคัมภีร์ ของศาสนาต่าง ๆ ก็จะพบเกี่ยวกับ เรื่องของการประทับจิตเนี่ยได้ ในคัมภีร์ของหลาย ๆ เล่ม ขอยกตัวอย่าง อย่างเช่น ท่านมหาสังคปรินายกองค์ที่หก ของนิกายเซน คือท่านฮุ่ยเหนิง ท่านก็ถ่ายทอดธรรม ให้กับลูกศิษย์ ด้วยวิธีการ ประทับจิต เช่นเดียวกัน ท่านคุรุนานักแห่งศาสนาซิกข์ ซึ่งเป็น มีผู้นับถือมาก ในประเทศอินเดีย ท่านก็ถ่ายทอด ธรรมโดยวิธีการประทับจิต และถ้าเราไปสืบดู ถ้าสมมติว่า สามารถหาคัมภีร์ ในศาสนาต่าง ๆ ได้ หลายอันเนี่ย โดยเฉพาะ ในศาสนาที่ยิ่งใหญ่ ที่มีศาสดาที่ยิ่งใหญ่ในโลก ก็จะมีการถ่ายทอดธรรม ด้วยวิธีการประทับจิต ทำไมถึงต้องมีการถ่ายทอดธรรม ด้วยวิธีการประทับจิต ? ทำไมถึงเรียกว่าประทับจิต ? ธรรมไม่ใช่สิ่งที่สามารถอธิบายได้ ด้วยคำพูด หรือด้วยภาษาของมนุษย์ เพราะฉะนั้น ในระหว่างการถ่ายทอด ธรรมที่เราเรียกว่า ประทับจิต เป็นการถ่ายทอด จากจิตสู่จิตนะครับ […] ของท่านอาจารย์ ก่อนที่จะมารับการประทับจิต เราจะขอร้องให้อย่างน้อยสัญญา ว่า วันนึงจะนั่งสมาธิ ซักอย่างน้อยสองชั่วโมงครึ่งนะครับ ซึ่งสำหรับบางคนฟังแล้ว รู้สึกน่ากลัวมาก “สองชั่วโมงครึ่งนี่ เราจะไปหาเวลาที่ไหนนะ? วัน ๆ ก็จะต้องยุ่ง กับโทรศัพท์มือถือ หรือไม่ก็วิดีโอ หรือว่าทีวี มันมีรายการอะไร ละครอะไรสนุกเยอะแยะ?” แล้วเราจะเอาเวลาที่ไหน ไปนั่งสมาธิ ขึ้นอยู่กับตัวเราครับ ถ้าเรารู้สึกว่าการนั่งสมาธิ การบำเพ็ญปฏิบัติของเรา เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเรา เราจะหาเวลาได้ […] แต่ว่าท่านอาจารย์ก็ไม่ได้บอกให้เรา นั่งสองชั่วโมงครึ่งต่อกัน เราอาจจะ แบ่งเวลาได้ครับ […] นอกจากนี้คน ที่จะเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ เราจะขอร้อง ให้สัญญาอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องการถือศีลห้า […] การประทับจิต อธิบายอีกนัยยะ หนึ่งก็คือการเปิดตาปัญญา หรือที่เรา เรียกว่า วิสด้อมอาย ตาปัญญานี่ ถ้าเราศึกษาในคัมภีร์ เราก็คงรู้ว่า ตาปัญญาจะอยู่บริเวณ กึ่งกลางหน้าผาก อยู่ที่ส่วนบน การเปิดตาปัญญา จะช่วยให้เรามองเห็น ผลของมันก็คือทำให้เรารู้แจ้ง